ชีวิตที่ดี มีได้จากอะไร?

Posted on

บังเอิญได้ไปเจอบทความหนึ่งที่เคยแชร์ไว้ผ่านเฟซบุ้คส่วนตัวเมื่อ 2 ปีก่อน กลับมาอ่านอีกครั้งในปัจจุบันความรู้สึกและพลังที่ได้รับจากบทความนี้ก็ยังมากจนล้น มันใช่จนแทบจะหาข้อโต้แย้งใดๆไม่ได้เลย อดไม่ได้ขออนุญาตินำมาบันทึกต่อไว้อ่านบนเว็บกัน

 

บทความดีดี  Cr. Line forward

ชีวิตที่ดี มีได้จากอะไร? บทเรียนจากการวิจัยความสุขของมนุษย์ที่ยาวนานที่สุด

What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness

งานวิจัยที่นานที่สุดในโลก…..
” Harvard Study of Adult Development”

โดยผู้ริเริ่มโครงการวิจัยได้ติดตามศึกษา
ชีวิตของผู้ชายวัยรุ่น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก; เป็นนักศึกษาชายปีที่ 2
ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดจำนวน 268 คน
ซึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษา
จากสถาบันที่มีชื่อเสียง

กลุ่มที่สอง; เป็นชายวัยรุ่นอายุ 12 – 16 ปี
ในตัวเมืองบอสตันจำนวน 456 คน
ซึ่งเป็นกลุ่มที่เติบโต
บนความลำบากและยากจน

ทุกๆ 2 ปี ทีมวิจัยจะให้ทั้ง 724 คนนี้
ทำแบบสอบถาม
เกี่ยวกับความพอใจในชีวิตพวกเขา
ไม่ว่าจะเป็นความพอใจในชีวิตการแต่งงาน
ความพอใจในหน้าที่การงาน
หรือความพอใจทางสังคม
และหลายครั้งที่ทีมวิจัย
ขอไปสัมภาษณ์พวกเขาถึงที่ห้องรับแขก
เพื่อถือโอกาสพูดคุยกับภรรย
หรือลูกๆ หลานๆ ของพวกเขาด้วย

นอกจากนี้ทุกๆ 5 ปี
จะมีการตรวจสอบสุขภาพพวกเขา
ทั้งรายงานทางการแพทย์
ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ
หรือแม้แต่ผลการ X-ray หรือ สแกนสมอง

โดยตลอดเวลาที่ทำการติดตาม
ทีมวิจัยได้เห็นพวกเขาเติบโตไป
ประกอบอาชีพต่างๆ
บ้างเป็นคนงานในโรงงาน
บ้างเป็นทนาย
บ้างเป็นช่างปูน
บ้างเป็นหมอ
และมีคนหนึ่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ
บางคนติดเหล้า
บางคนมีอาการทางประสาท
จำนวนไม่น้อยที่สร้างเนื้อสร้างตัว
จนสามารถไต่ระดับทางสังคมขึ้นมาได้
ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
ที่เลือกทางเดินที่ตรงข้าม

ความมหัศจรรย์ของการวิจัยนี้คือ
เป็นงานวิจัยที่ยาวมากซึ่งมีไม่บ่อยนัก

ส่วนใหญ่มักจะเลิกไปภายใน 10-20 ปี
เพราะผู้ถูกวิจัยไม่ยอมให้วิจัยต่อบ้าง
เงินทุนวิจัยหมดบ้าง
คนทำวิจัยหันไปทำเรื่องอื่น หรือเสียชีวิตไป

แต่ Harvard Study of Adult Development
กลับดำเนินมากว่า 75 ปีแล้ว
โดยผู้ถูกวิจัยท724 คนนั้น
เหลือชีวิตรอดแค่ 60 กว่าคนเท่านั้น
ซึ่งผู้เหลือรอดเกือบทั้งหม
อยู่ในวัย 90 ปีขึ้นไป

แล้วอะไรบ้างหล่ะ ที่บรรดานักวิจัยเรียนรู้
จากเรื่องราวกว่า 70 ปีของ 700 กว่าชีวิต
ผ่านทางเอกสาร และข้อมูลเป็นหมื่นๆหน้า

พวกเขาเรียนรู้ว่า…
“ความร่ำรวย”
“ความโด่งดัง”
หรือ “การทำงานอย่างหนักหน่วง”

ไม่ใช่คำตอบของ
” การมีชีวิตที่ดี “
หรือ “สุขภาพที่ดี” เลยแม้แต่นิดเดียว

แต่เป็น “ความสัมพันธ์ที่ดี” ต่างหาก
ที่นำมาซึ่ง “การมีชีวิตที่ดี”

“Good relationships keep us happier and healthier.”
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด (Key Massage)

โรเบิร์ต บอกต่อว่า
พวกเขาได้เรียนรู้อีก 3 บทเรียนล้ำค่า
ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ (Relationship) คือ…

1. Connection is really good for us,
loneliness kills.
คุณจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี
กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง
เพื่อน ครอบครัว หรือสังคม ก็ตาม

ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะทำให้คุณ
มีความสุขกว่า
แข็งแรงกว่า
และมีอายุที่ยืนยาวกว่า

ในทางกลับกันความเหงาและโดดเดี่ยวนั้น
เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง
เพราะมันจะทำให้คุณมีความสุขน้อยลง
ทำให้ร่างกายคุณเริ่มแย่ลงตั้งแต่วัยกลางคน
สมองเสื่อมเร็วขึ้น
และมีชีวิตสั้นกว่า

2. Quality is not Quantity.
มันไม่สำคัญที่ปริมาณ
หรือรูปแบบของความสัมพันธ์
เช่น “จะต้องแต่งงานเท่านั้น”
แต่เป็น “คุณภาพของความสัมพันธ์” ต่างหาก
ที่จะเป็นตัวบ่งชี้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่า
ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีของสามีภรรยา
จะส่งผลลบมากกว่า
การหย่าร้างที่เข้าใจกันเสียอีก

3. “Good relationships don’t just protect
our bodies they protect our brains.”

ความสัมพันธ์ที่อบอุ่น มั่นคง ไว้ใจได้ พึ่งพาได้
ไม่เพียงแต่ช่วยให้มีสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น
ยังดีต่อสมองด้วย

ความสัมพันธ์ที่ดี
จะทำให้มีความทรงจำที่ดี
และสมองยังคงใช้งานได้ดีอยู

ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีในที่นี้
ไม่ได้หมายถึง
ความสัมพันธ์ที่ราบรื่นสุดๆ ไม่ทะเลาะกันเลย
แต่เป็นความสัมพันธ์ที่รู้ว่า
เมื่อถึงเวลาที่ต้องการจริง
เราจะมีคนที่พึ่งพาได้

นั่นคือสิ่งที่ “โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ “
และทีมงานวิจัยของ ฮาวาร์ด ค้นพบ
ซึ่ง โรเบิร์ต บอกว่า
จริงๆแล้ว ผู้ถูกวิจัยเหล่านี้ในช่วงที่ยังเป็นวัยรุ่น
หรือเริ่มเป็นผู้ใหญ่ใหม่ๆนั้น
ก็เชื่อเหมือนกับที่คนในยุคนี้ว่า
“ชื่อเสียง เงินทอง”
จะทำให้พวกเขา
“ประสบความสำเร็จและมีชีวิตที่ดี”

แต่ความจริงจากการศึกษากว่า 75 ปี
กลับกลายเป็นว่า

คนที่ให้ความสำคัญกับ
“ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง” ต่างหาก
คือ คนที่มีชีวิตที่ดีที่สุด

โรเบิร์ต ชวนคิดว่า…
สิ่งที่ทำให้คนเรามองข้าม “ความสัมพันธ์ที่ดี”แล้วหันไปใส่ใจกับ
“ชื่อเสียง เงินทอง” หรือ “หน้าที่การงาน”
อาจเป็นเพราะ…
การมีความสัมพันธ์ที่ดีนั้น
เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยากและไม่รู้จบ
แถมยังต้องได้รับการใส่ใจตลอดเวลา
จนหลายคนเลือกจะ “ทำงานหาเงิน” อย่างเดียว

แต่…
การเอาใจใส่ และการทำความสัมพันธ์ให้ดี
ไม่ได้ยากขนาดนั้น

แค่เงยหน้าจากจอมือถือ
แล้วสบตาคนรอบตัวให้มากขึ้น
หาอะไรใหม่ๆทำร่วมกัน
เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่จืดจาง
กลับมามีสีสันอีกครั้ง

ทำอะไรง่ายๆ ที่ไม่ต้องเสียเงิน
เช่น ชวนคนรักไปเดินเล่น
หรือติดต่อญาติที่ไม่ได้เจอกันมานานแล้ว

เพราะชีวิตเรานั้น
“มาร์ก เทวน” บอกว่า…
มันช่างสั้น แล้วก็สั้นเหลือเกิน

สั้นเกินกว่าที่จะมาโกรธกัน ทะเลาะกัน
หรืออิจฉาริษยากัน
ควรมีแต่เวลารักกันเท่านั้น
ซึ่งแค่นี้มันก็แทบจะไม่พออยู่แล้ว

นั่นคือสิ่งที่ “โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ “
พูดใน speech ของเขา

…………………………………………

สำหรับใครที่เก่งภาษาอังกฤษ อยากฟังเวอร์ชั่นเต็มๆ ลองดูกันนะคะ

Editor’s note: This talk was recorded at a TEDx event organized by volunteers; speakers are selected independently of TED.